เป้าหมาย (Understanding Goal)

Week5

หน่วยการเรียนรู้ : การประมาณค่า

เป้าหมายความเข้าใจเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการให้เหตุผลในการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ โดยการสื่อสารและนำเสนอ ใช้วิธีประมาณค่าเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคิดคำนวณ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และปรับใช้ความรู้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ชีวิตประจำวันได้

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์

Week
Input
Process
Output
Outcome






5

9 - 27
 พ.ย. 2558

โจทย์
การประมาณค่า(3)

Key  Questions
ให้นักเรียนปัดเศษ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบและจำนวนเต็มร้อย
นักเรียนคิดว่าค่าของ 17,855  +  42,028 โดยวิธีปัดเศษมีค่าประมาณเท่าไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับการปัดเศษใช้ในการประมาณค่า
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
Wall Thinking ติดชิ้นงานนิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เกม ความยาวประหลาด และการคาดเดา
- คอมพิวเตอร์ GSP
- แผ่นโจทย์การประมาณค่า
- สี / ปากกา / กระสีแข็ง
จันทร์
เชื่อม :  ครูช่วยจัดระบบวิธีคิดของนักเรียน
Ex วิธีคิด
หาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มพันของแต่ละจำนวนได้  ดังนี้
17,855     18,000
42,028     42,000
และ  18,000  +  42,000  =  60,000

อังคาร-พุธ
ใช้ นักเรียนสรุปการเรียนรู้ของหน่วยการประมารค่าทางคณิตศาสตร์
- นักเรียนทำใบงานการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ


ศุกร์
ใช้ สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)

ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ เกี่ยวกับโจทย์สถานการณ์การหาพื้นที่
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณในรูปแบบที่หลากหลาย
- ทำชิ้นงานสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
- นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์การใช้การประมาณค่าในการคำนวณที่กำหนดให้และสรุปหน่วยการเรียนรู้การประมาณค่า

ชิ้นงาน
- สรุปการเรียนรู้ของหน่วยการประมารค่าทางคณิตศาสตร์
-  ใบงานการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
- สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)

ความรู้
การให้เหตุผลในการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ โดยการสื่อสารและนำเสนอ ใช้วิธีประมาณค่าเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคิดคำนวณ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณและสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการคิดวิเคราะห์
นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ ร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำละเข้าใจได้

คุณลักษณะ
- ส่งงานตรงเวลา เมื่อได้การบ้าน ในเช้าวันถัดมานักเรียนฝึกทำการบ้านและส่งงานทุกครั้ง
 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ทำงานการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ อย่างมีความประณีต
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ทั้งงานกลุ่มและงานเดียว ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ขณะที่มีผู้นำเสนอ คนที่รับฟังเขียนขมวดความเข้าใจลงในสมุดทดคิด


ภาพกิจกรรม
นักเรียนรู้เรื่องการประมาณค่ามาเป็นอย่างดี แต่ที่ลึกกว่านั้นเป็นการประมาณค่าจากกิจกรรมการเรียนรู้คณิตฯ ที่เชื่อมโยงเข้าสู่ชีวิตจริง 
ให้เห็นความหลากหลายในการเรียนรู้ การคาดคะเนพื้นที่บริเวณโรงเรียนฯ ตามจุดต่างๆ การหาอะไรต่างๆ มาเพิ่มเติมเช่น ความยาวของไม้, ความสูงของต้นสน, น้ำหนักของเก้าอี้ 1 ตัว, ความกว้าวของตนก็/อาคาร ฯลฯ
_ครูพานักเรียนออกแบบตาราง ก่อนจะให้ลงค่าประมาณ/คาดคะเนก่อนจะได้คำตอบจริง ลงอีก 1 คอลัมน์เกี่ยวกับคำตอบจริง และช่องสุดท้ายค่าคาดเคลื่อน(error)
เด็กๆสนุกกับกิจกรรมการเรียนรู้เล็กๆ นี้ ก่อนจะเชื่อมเข้าสู่การปัดค่าประจำตำแหน่ง/ หลังทศนิยม_ก่อนทศนิยม ฯลฯ

ภาพชิ้นงาน            

           

1 ความคิดเห็น:

  1. นักเรียนรู้เรื่องการประมาณค่ามาเป็นอย่างดี แต่ที่ลึกกว่านั้นเป็นการประมาณค่าจากกิจกรรมการเรียนรู้คณิตฯ ที่เชื่อมโยงเข้าสู่ชีวิตจริง ให้เห็นความหลากหลายในการเรียนรู้ การคาดคะเนพื้นที่บริเวณโรงเรียนฯ ตามจุดต่างๆ การหาอะไรต่างๆ มาเพิ่มเติมเช่น ความยาวของไม้, ความสูงของต้นสน, น้ำหนักของเก้าอี้ 1 ตัว, ความกว้าวของตนก็/อาคาร ฯลฯ
    _ครูพานักเรียนออกแบบตาราง ก่อนจะให้ลงค่าประมาณ/คาดคะเนก่อนจะได้คำตอบจริง ลงอีก 1 คอลัมน์เกี่ยวกับคำตอบจริง และช่องสุดท้ายค่าคาดเคลื่อน(error) เด็กๆสนุกกับกิจกรรมการเรียนรู้เล็กๆ นี้ ก่อนจะเชื่อมเข้าสู่การปัดค่าประจำตำแหน่ง/ หลังทศนิยม_ก่อนทศนิยม ฯลฯ

    ตอบลบ