เป้าหมาย (Understanding Goal)

Week 3

หน่วยการเรียนรู้ : การประมาณค่า
เป้าหมายความเข้าใจ: เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการให้เหตุผลในการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ โดยการสื่อสารและนำเสนอ ใช้วิธีประมาณค่าเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคิดคำนวณ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และปรับใช้ความรู้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ชีวิตประจำวันได้

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์
Week
Input
Process
Output
Outcome






3

9 - 13
 พ.ย. 2558

โจทย์
การประมาณค่า(1)

Key  Questions
- ให้นักเรียนปัดเศษ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบและจำนวนเต็มร้อย
- นักเรียนคิดว่าค่าของ 17,855  +  42,028 โดยวิธีปัดเศษมีค่าประมาณเท่าไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับการปัดเศษใช้ในการประมาณค่า
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
Wall Thinking ติดชิ้นงานนิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เกม ความยาวประหลาด และการคาดเดา
- คอมพิวเตอร์ GSP
- แผ่นโจทย์การประมาณค่า
- สี / ปากกา / กระสีแข็ง
จันทร์
ชง :  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม และรูปวงกลม
- นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา ครูยกตัวอย่างโจทย์เกมกิจกรรมเดิม

ทบทวนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ฝึกโจทย์ทักษะการคิด
- ครูพานักเรียนเล่นเกม ความยาวประหลาด และการคาดเดา


อังคาร
เชื่อม : นักเรียนเล่นเกม ฝึกการคิดเชื่อมโยงสู่ความรู้เดิมของแต่ละคน
- ร่วมสรุปถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเกมการคิดเกี่ยวกับการคาดเดาการกะประมาณค่าของความยาวนั้น
- นักเรียนออกแบบเกมกิจกรรมการเล่น เกี่ยวกับการกะประมาณมานำเสนอครูและเพื่อนๆ ที่จะทำเกมให้น้องหรือผู้อื่นสามารถเล่นและร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันได้


พุธ
- ครูเล่าเกี่ยวกับการปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็มสิบที่ใกล้เคียงที่สุดทำได้โดยพิจารณาที่เศษของสิบ ถ้าเศษของสิบมีค่าน้อยกว่า5 ให้ตัดทิ้ง แต่ถ้าเศษของสิบที่มีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไป ให้ปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็มสิบ เช่น
1, 342 ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มสิบได้ 1,340 เนื่องจากเศษของสิบ คือ 2 ซึ่งน้อยกว่า 5 ให้ตัดทิ้ง
1,345 ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มสิบได้ 1,350 เนื่องจากเศษของสิบ คือ 5 พอดีจึงปัดเศษขึ้นไปเป็นจำนวนเต็มสิบ
1,347 ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มสิบได้ 1,350 เนื่องจากเศษของสิบ คือ 7 ซึ่งมากกว่า 5 จึงปัดเศษขึ้นไปเป็นจำนวนเต็มสิบ
ในทำนองเดียวกัน การปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็มร้อยที่ใกล้เคียงที่สุดทำได้โดยพิจารณาเศษของร้อย ถ้าเศษของร้อยมีค่าน้อยกว่า 50 ให้ตัดทิ้ง แต่ถ้าเศษของร้อยมีค่าตั้งแต่ 50 ขึ้นไป ให้ปัดขึ้นเป็นจำนวน เต็มร้อย เช่น
1,340 ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มร้อยได้ 1,300 เนื่องจากเศษของร้อย  คือ 40 ซึ่งน้อยกว่า50 จึงตัดทิ้งไป
1,370 ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มร้อยได้ 1,400 เนื่องจากเศษของร้อย  คือ 70 ซึ่งมากกว่า50 จึงปัดเศษขึ้นไปเป็นจำนวนเต็มร้อย


ศุกร์
ใช้ : นักเรียนรับโจทย์การคิดเกี่ยวกับการประมาณค่า


ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ เกี่ยวกับโจทย์สถานการณ์การหาพื้นที่
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณในรูปแบบที่หลากหลาย
- ทำชิ้นงานสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
- นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์การใช้การประมาณค่าในการคำนวณที่กำหนดให้และสรุปหน่วยการเรียนรู้การประมาณค่า

ชิ้นงาน
- สรุปการเรียนรู้ของหน่วยการประมารค่าทางคณิตศาสตร์
-  ใบงานการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
- สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)

ความรู้
การให้เหตุผลในการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ โดยการสื่อสารและนำเสนอ ใช้วิธีประมาณค่าเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคิดคำนวณ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณและสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการคิดวิเคราะห์
นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ ร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำละเข้าใจได้

คุณลักษณะ
- ส่งงานตรงเวลา เมื่อได้การบ้าน ในเช้าวันถัดมานักเรียนฝึกทำการบ้านและส่งงานทุกครั้ง
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ทำงานการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ อย่างมีความประณีต
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ทั้งงานกลุ่มและงานเดียว ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ขณะที่มีผู้นำเสนอ คนที่รับฟังเขียนขมวดความเข้าใจลงในสมุดทดคิด



ภาพกิจกรรม

_นักเรียนได้เรียนรู้หลักการประมาณค่า จากตัวอย่างสถานการณ์จริงที่ครูเตรียมไว้ให้ เช่น บัตรตัวเลขให้นักเรียนไปแปลงค่าเป็นค่าประมาณใกล้เคียงในหลักต่างๆ
      เรื่องเป็นหัวใจสำคัญในเรื่องของความรู้สึกเชิงจำนวนNumber Sense ในระดับต่างๆ ที่เรียนรู้คณิตศาสตร์

เช่น ให้นักเรียนที่ได้บัตรตัวเลขปัดเศษ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบและจำนวนเต็มร้อย
วิธีคิด.. ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบ คือ
เขียนแทนด้วย 35,477 35,480
ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มร้อย คือ 35,500
เขียนแทนด้วย 35,477 35,500
หมายเหตุ : เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนคำว่า "ค่าประมาณ"
_นักเรียนมีพื้นฐานต่างๆ ในเรื่องของจำนวนต่างๆ ที่เขาเคยประมาณค่าอย่างง่ายมาในระดับประถมศึกษา ครูจึงชงด้วยโจทย์ดังกล่าว เพื่อเชื่อมเข้าสู่เนื้อหาสู่การเรียนรู้
พอนักเรียนเริ่มจับPattern ของการปัดเศษได้แล้ว ครูจึงนำโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นมาให้ทุกคนคิด เป็นโจทย์เกี่ยวกับทศนิยม
             จากหน่วยย่อยนี้การประมาณค่านักเรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหา, การคิดวิเคราะห์รวมทั้งคิดอย่างสร้างสรรค์, การวางแผน, การเรียนรู้แบบรูปที่ซ่อนอยู่ เป็นต้น ล้วนเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งทางคณิตฯ

และนักเรียนทุกคนได้สรุปการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นำเสนอถ่ายทอดความเข้าใจต่างๆ เพื่อเป็นการเรียนรู้ของผู้อื่น


ภาพชิ้นงาน   
        

1 ความคิดเห็น:

  1. _นักเรียนได้เรียนรู้หลักการประมาณค่า จากตัวอย่างสถานการณ์จริงที่ครูเตรียมไว้ให้ เช่น บัตรตัวเลขให้นักเรียนไปแปลงค่าเป็นค่าประมาณใกล้เคียงในหลักต่างๆ
    เรื่องเป็นหัวใจสำคัญในเรื่องของความรู้สึกเชิงจำนวนNumber Sense ในระดับต่างๆ ที่เรียนรู้คณิตศาสตร์

    เช่น ให้นักเรียนที่ได้บัตรตัวเลขปัดเศษ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบและจำนวนเต็มร้อย
    วิธีคิด.. ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบ คือ
    เขียนแทนด้วย 35,477 35,480
    ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มร้อย คือ 35,500
    เขียนแทนด้วย 35,477 35,500
    หมายเหตุ : เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนคำว่า "ค่าประมาณ"
    _นักเรียนมีพื้นฐานต่างๆ ในเรื่องของจำนวนต่างๆ ที่เขาเคยประมาณค่าอย่างง่ายมาในระดับประถมศึกษา ครูจึงชงด้วยโจทย์ดังกล่าว เพื่อเชื่อมเข้าสู่เนื้อหาสู่การเรียนรู้
    พอนักเรียนเริ่มจับPattern ของการปัดเศษได้แล้ว ครูจึงนำโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นมาให้ทุกคนคิด เป็นโจทย์เกี่ยวกับทศนิยม
    จากหน่วยย่อยนี้การประมาณค่านักเรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหา, การคิดวิเคราะห์รวมทั้งคิดอย่างสร้างสรรค์, การวางแผน, การเรียนรู้แบบรูปที่ซ่อนอยู่ เป็นต้น ล้วนเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งทางคณิตฯ

    และนักเรียนทุกคนได้สรุปการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นำเสนอถ่ายทอดความเข้าใจต่างๆ เพื่อเป็นการเรียนรู้ของผู้อื่น

    ตอบลบ